กิจกรรม ARISS SSTV 29-Dec-2019 1-Jan-2020

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมามีกิจกรรมรับภาพ SSTV ที่ส่งลงมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ จากสถานีวิทยุสมัครเล่นในส่วนของรัสเซีย เพื่อระลึกถึงนักบินอวกาศ 3 ท่านที่จากไปในปี 2019 Alexei Leonov, Valery Bykovsky, Sigmund Jähn

รอบนี้ทดลองใช้ SatNOGS รับสัญญาณ ได้ภาพเกือบครบ ทั้งวันทั้งคืน มีช่วงวันหลังๆ ที่ LNA เสียเลยพลาดไปครับ ได้สะสมมาทั้งหมด 11 ภาพ แบบไม่ซ้ำกันสำหรับ Series นี้

Read more

Straight Key คันเคาะรหัสมอร์ส ผลผลิตจาก 3D Printer

หลังจากเริ่มคุ้นมือกับเจ้า 3D Printer แล้ว ต่อไปก็เริ่มทยอยสร้างชิ้นงาน Project ออกมากันครับ สำหรับชิ้นงานความฝันที่อยากได้ก็คือ สร้างคันเคาะรหัสมอร์สสวยๆ ออกมาใช้งาน เพราะปกติงานเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนใช้ในวงกว้างตามท้องตลาด และราคาก็ค่อนข้างสูง ผมก็เลยนึกสนุกๆ สร้างขึ้นมาสักอันครับ

Read more

3D Print เริ่มโปรเจ็คแรก กล่องใส่ Antenna Analyzer

ช่วงนี้ยังสนุกอยู่กับการเรียนรู้การใช้ งาน 3D Printer ครับ แหล่งความรู้อย่างดีเลยก็คือ Google กับ Youtube เพราะคู่มือก็ไม่ได้ให้มาละเอียดเท่าไหร่ (ให้มาแค่วิธีประกอบ) อย่างเช่นวิธีการใส่ filament หรือการเปลี่ยนเส้นพลาสติก ที่จะต้องมีการอุ่นให้หัวพิมพ์ร้อนๆ ก่อนเพื่อที่จะได้ถอดหรือดึงเส้นพลาสติกออกได้สะดวก ซึ่งพอรู้หลักการเบื้องต้นแล้ว ที่เหลือเราก็จะมองภาพออกครับว่าจะใช้งานควบคุมมันอย่างไร

โปรเจ็คที่ทดลองพิมพ์ด้วย 3D Printer ออกมาเมื่อวานก็เป็นกล่องใส่ตัว Tena Testa ซึ่งอุปกรณ์ตัวช่วยวิเคราะห์สายอากาศ ซึ่งผมก็ซื้อมานานมากแล้วเป็นขุดคิต เอามาประกอบ เสร็จแล้วหลังจากนัั้นมันก็นอนอยู่ในถุง ไม่ค่อยได้เอาออกมาใช้งาน กลัวจะพัง เพราะโดยลำพังตัวมันเองมีแค่ชุดจอ LCD กับ แผ่น PCB แค่นั้น

Read more

สร้าง rotor สายอากาศดาวเทียม

*** บทความนี้จะมีการ update progress เรื่อยๆ ในการสร้างโปรเจ็คนะครับ

เนื่องจากดาวเทียม LEO วงโคจรต่ำที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น ส่วนใหญ่จะมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมดวงต่างๆได้ จำเป็นจะต้องมีมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า rotor ที่สามารถปรับมุมหมุน (azimuth) และมุมยก (elevator) ได้ เพื่อให้สายอากาศของเราสามารถหันตรงทิศทางดาวเทียมได้ตลอดเวลาและอุปกรณ์ค่อนข้างมีราคาแพง ดังนั้นการทดลองสร้างใช้งานเองก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจครับ

Read more

บันทึการติดต่อสถานี HS10KING/mm เรือหลวงจักรีนฤเบศร

ช่วงวันที่ 3 – 5 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมวิทยุสมัครเล่นครั้งสำคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ โดยสถานีสัญญาณเรียกขานพิเศษ HS10KING/mm เพื่อเฉลิมฉลองการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ที่จัดโดยกองทัพเรือร่วมกับสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (RAST) โดยออกอากาศในความถี่วิทยุสมัครเล่นที่เรือหลวงจักรีนฤเบศรบริเวณอ่าวไทย (ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปอ่านได้ที่เว็บของ http://www.rast.or.th/hs10king)

Read more

BugHamBot บักหำบอท – LINE Bot สำหรับวิทยุสมัครเล่นไทย

หลังจากศึกษาข้อมูลการสร้างบอทของ LINE มาได้เกือบเดือน สุดท้ายก็คลอดออกมาให้ทดลองใช้กันแล้วครับ กับ BugHamBot (บักหำบอท) ซึ่งในเวอร์ชั่นนี้จะช่วยในการเช็คข้อมูลนักวิทยุสมัครเล่นไทย และการใช้ความถี่ในย่าน VHF ซึ่งหลังจากที่ทดลองสร้างบอทตัวนี้เสร็จ ก็ทดลองไปปล่อยไว้ในห้อง chat ของเพื่อนๆ อยู่เดือนกว่าๆ ก็พบว่ายังไม่มีอาการ error ใดๆ แสดงออกมาให้เห็น จะมีบั๊กบ้างก็แก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นก็ถึงเวลาที่จะทดลองปล่อยให้สาธารณะชนได้เริ่มใช้กันแล้วครับ

Read more

สายอากาศย่าน 40m แนวตั้งขนาดสั้นแบบคอล์ยโหลดกลาง (vertical short center coil loaded antenna)

วันนี้มีแบบสายอากาศย่าน 40m หรือความถี่ 7.000 – 7.200 MHz มาให้ทดลองสร้างกันครับ ซึ่งข้อมูลและวิธีการก็มีนักวิทยุสมัครเล่นต่างประเทศสร้างกันมากมาย ซึ่งข้อดีของสายอากาศชนิดนี้ก็คือเราสามารถสร้างให้มีขนาดสั้นกว่าสายอากาศความยาวแบบ vertical ทั่วๆ ไป ซึ่งหลักการและวิธีการก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย และสามารถใช้วัสดุที่หาซื้อได้ใกล้บ้านครับ

 

ภาพที่ 1 center coil loaded แบบ ปรับค่า inductance ได้

Read more

รับ SSTV จากสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

ช่วงวันที่ 11 – 14 เมษายน 2561 นี้สถานีอวกาศนานาชาติในส่วนของวิทยุสมัครเล่น ARISS มีการส่งสัญญาณภาพ SSTV (Slow Scan Television) ลงมา เพื่อเฉลิมฉลองวันนักบินอวกาศ (Cosmonautics Day) ของประเทศรัสเซีย ซึ่งในรอบนี้ผมรับได้สองภาพ อุปกรณ์ ก็มีสายอากาศ 5/8 สูง 10 เมตร วิทยุ VHF ICV82T  รับที่ความถี่ 145.800MHz และคอมพิวเตอร์กับโปรแกรม MMSSTV ครับ

Read more

การติดต่อในโหมด WSPR – Introduction

เรื่องของวิทยุสมัครเล่น มีอะไรให้เรียนรู้ไม่มีวันจบครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ WSPR กัน

สำหรับ WSPR ก็เป็นโหมดหนึ่งของย่าน HF (สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางขึ้นไป) ข้อน่าสนใจของโหมดนี้ก็คือเป็นโหมดที่ใช้ติดต่อด้วยกำลังส่งที่ต่ำ เช่น 500mW – 1W ก็ไปได้ครึ่งค่อนโลกแล้ว ซึ่งเท่าที่ผมเคยทดลองมากำลังส่งประมาณ 1.5W ก็ไปถึงอเมริกาได้ในบางคืน

Read more