การใช้ Kenwood TH-D72 สำหรับ Satellite FM

จะต้องมีการ setup ให้วิทยุของเราทำงานเป็น Dual Band โดยการกดที่ปุ่ม DUAL เราจะเห็นมีความถี่เกิดขึ้นมาสองบรรทัด ที่บรรทัดแรกเราจะเรียกว่า VFO A และบรรทัดที่สองคือ VFO B โดยปกติแล้ว VFO A จะความไวดีกว่า เราจึงจะตั้ง VFO A ให้เป็นความถี่รับ และ VFO B เป็นความถี่ส่ง และเนื่องจากเราจะต้องทำให้เป็น Full Duplex หมายถึงในขณะที่เรากดพูดส่งไปดาวเทียม เราก็จะได้ยินเสียงเราย้อนกลับมาด้วยเหมือนกัน ซึ่งอันนี้จะถูกบังคับว่า เราจะกด ให้เป็น Full Duplex ได้ VFO B จะต้องเป็นภาคส่งได้อย่างเดียว

หลังจากเรา setup dual band โดยการกดปุ่ม DUAL เสร็จ และตั้งความถี่รับส่งเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไป กดปุ่ม F+DUP เพื่อให้วิทยุเราทำงานเป็น Full Duplex ครับ และตอนนี้เราจะสามารถสลับ VFO A กับ B เพื่อปรับความถี่ต่างๆ ได้โดยการกดที่ปุ่ม A/B

ต่อไปคือให้ open squelch ที่ VFO A เพื่อที่จะรับฟังความถี่ downlink จากดาวเทียม และที่ VFO B ให้ ตั้ง squelchไว้สักขีดสองขีด เพื่อที่จะไม่ให้มีการมากวนความถี่ภาครับในขณะที่เรา uplink ขึ้นดาวเทียมครับ

ต่อไปก็พร้อมใช้งานแล้วครับ โดยเราจะตั้งให้ VFO B เป็น default คือให้ลูกศรชี้ VFO B อยู่ตลอดเวลาโดยในขณะที่ดาวเทียมกำลังผ่านเข้ามา เราจะมีการปรับ dropper ที่ VFO A ซึ่งเป็นความถี่ downlink เราก็ทำได้โดยการกดปุ่ม A/B เพื่อสลับไปปรับความถี่ และเมื่อปรับเสร็จแล้ว เราจะต้องสลับมาอยู่ที่ VFO B เพื่อพร้อมจะ uplink ครับ โดยถ้าเราลืมปรับคืน มันจะกลายเป็นความเรากดส่งที่ความถี่ UHF ออกอากาศแทนครับ

ใช้คำสั่งของ Hamlib เพื่อควบคุมวิทยุ IC-7300 ด้วย C#

ไปหาวิธีเขียนโค้ดด้วย c# มาหลายตัวอย่างก็ไม่เจอวิธี interface ให้ Hamlib ใช้กับ C# เพื่อสั่งคอนโทรล หรืออ่านข้อมูลจากวิทยุสื่อสาร ICOM IC-7300 ได้ครับ ก็เลยใช้วิธีอ่านผ่าน command ของ HAMLIB เอาโต้งๆ เลย แล้วเดียวค่อยกลับมาแกะข้อมูลเอามาใช้ต่อครับ

ตรวจสอบวงจร SEND ของวิทยุ IC-7300 ก่อนใช้กับ Transverter

สืบเนื่องจากบทความตอนที่แล้ว เรื่อง เพิ่มวงจร PTT ให้กับ transverter ของเรา แต่ที่วงจรที่เจ้าของร้านให้มาจะมีการช็อต ไฟ 12v ลง กราวด์เพื่อให้ PTT ของ transverter ทำงาน ใจก็กังวลว่าถ้าต่อตรงๆ เข้า IC-7300 กลัวจะพัง เลยมาตรวจสอบ spec ช่องต่อ send หลังเครื่อง IC7300 เรากันก่อนครับ

โดยช่องต่อ SEND หลังเครื่อง IC7300 นี้จะเป็นตัวควบคุมให้ PTT ทำงานครับ ซึ่งในคู่มือบอกว่าความต้านทานจะเป็น 0 เมื่อมีการ TX กดส่งออกอากาศ

หลังตรวจสอบแล้วพบว่า พอร์ตนี้ จะใช้ relay ควบคุมอีกทีหนึ่งครับ เพราะฉนั้น มันใจได้ว่า ไฟ 12v จาก transverter ที่จะ short ลงกราวด์ ผ่านเครื่อง ic7300 ของเราก็ปลอดภัยแน่นอน

วงจร PTT ที่จะเพิ่มใน transverter
ช่องต่อ SEND หลังเครื่อง IC7300
วงจรภายของพอร์ต SEND ภายในเครื่อง IC7300

เพิ่ม PTT ให้กับ transverter

Transverter ตัวหนึ่ง ผมซื้อมาจากยูเครน ผ่าน Ebay ครับ เป็นแปลงความถี่จาก 28-29 MHz ให้เป็น VHF 144-145 MHz ซึ่งทำให้วิทยุ HF ของเราสามารถเล่น VHF ได้ แต่ตัว Transverter จะเป็นรุ่นที่เป็น Automatic PTT คือจะส่งอัตโนมัติ ตามคลื่นพาหะที่ออกมาจากวิทยุ ซึ่งผมไม่ค่อยชอบเพราะอยากจะคอนโทรล PTT เอง เลยส่งข้อความไปหาเจ้าของร้านก็แนะนำว่าสามารถ Add PTT เพิ่มเองได้ตามวงจรด้านล่างครับ

HAMlib Command for IC7300 & G-5500 Rotor

ปกติผมจะใช้โปรแกรม Gepredict 2.3.37 สำหรับควบคุมการหมุนของโรเตอร์ดาวเทียม และจูนความถี่วิทยุ IC-7300 ผ่านตัว transverter สำหรับใช้เล่นติดต่อกับดาวเทียมประเภท linear transponder ครับ เนื่องจากความถี่รับกับความถี่ส่งจะต้องจูนแบบกลับกัน เพื่อให้ง่ายในการควบคุมการจูนและการหมุนของดาวเทียม คำสั่งหลักๆที่ใช้ก็ประมาณนี้


คำสั่งสำหรับใช้ควบคุมวิทยุ IC-7300
rigctld -m 373 -r com4 -t 4535 -T 127.0.0.1 -s 115200

และคำสั่งสำหรับควบคุมโรเตอร์ Yeasu G5500
rotctld -m 602 -r com9 -t 4533 -T 127.0.0.1

Random Wire Antenna 9:1 (UnUn)

วันหยุด นั่งดูคลิปการสร้างสายอากาศแบบ random wire จาก OM0ET นักวิทยุสมัครเล่นชาว สโลวะเกีย ซึ่งดูแล้วไม่ยากมาก และจูนความถี่ได้ต่ำถึง 3.5 MHz โดยใช้สายไฟยาวประมาณ 20 เมตร และตัวแปลงบาลันแบบ 9:1 (UnUn)

Read more

Garmin nuvi 350 สำหรับ APRS Project.

อุปกรณ์ครบแล้ว ไปตามหา Garmin Nuvi 350 พร้อมสาย FMI (Fleet management interface) เอามาทำโปรเจ็ค APRS ซึ่งจะแสดงผลเป็น call sign บนแผนที่ของ Garmin ตัวนี้เลย เป็นโปรเจ็คเก่าแก่มาก ซึ่งโชคดีที่ผมไปเจอ GPS ตัวนี้มาราคาแค่พันเดียว

เดี๋ยวติดตามกันตอนต่อไปครับ

กิจกรรม ARISS SSTV 29-Dec-2019 1-Jan-2020

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมามีกิจกรรมรับภาพ SSTV ที่ส่งลงมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ จากสถานีวิทยุสมัครเล่นในส่วนของรัสเซีย เพื่อระลึกถึงนักบินอวกาศ 3 ท่านที่จากไปในปี 2019 Alexei Leonov, Valery Bykovsky, Sigmund Jähn

รอบนี้ทดลองใช้ SatNOGS รับสัญญาณ ได้ภาพเกือบครบ ทั้งวันทั้งคืน มีช่วงวันหลังๆ ที่ LNA เสียเลยพลาดไปครับ ได้สะสมมาทั้งหมด 11 ภาพ แบบไม่ซ้ำกันสำหรับ Series นี้

Read more

Straight Key คันเคาะรหัสมอร์ส ผลผลิตจาก 3D Printer

หลังจากเริ่มคุ้นมือกับเจ้า 3D Printer แล้ว ต่อไปก็เริ่มทยอยสร้างชิ้นงาน Project ออกมากันครับ สำหรับชิ้นงานความฝันที่อยากได้ก็คือ สร้างคันเคาะรหัสมอร์สสวยๆ ออกมาใช้งาน เพราะปกติงานเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนใช้ในวงกว้างตามท้องตลาด และราคาก็ค่อนข้างสูง ผมก็เลยนึกสนุกๆ สร้างขึ้นมาสักอันครับ

Read more

3D Print เริ่มโปรเจ็คแรก กล่องใส่ Antenna Analyzer

ช่วงนี้ยังสนุกอยู่กับการเรียนรู้การใช้ งาน 3D Printer ครับ แหล่งความรู้อย่างดีเลยก็คือ Google กับ Youtube เพราะคู่มือก็ไม่ได้ให้มาละเอียดเท่าไหร่ (ให้มาแค่วิธีประกอบ) อย่างเช่นวิธีการใส่ filament หรือการเปลี่ยนเส้นพลาสติก ที่จะต้องมีการอุ่นให้หัวพิมพ์ร้อนๆ ก่อนเพื่อที่จะได้ถอดหรือดึงเส้นพลาสติกออกได้สะดวก ซึ่งพอรู้หลักการเบื้องต้นแล้ว ที่เหลือเราก็จะมองภาพออกครับว่าจะใช้งานควบคุมมันอย่างไร

โปรเจ็คที่ทดลองพิมพ์ด้วย 3D Printer ออกมาเมื่อวานก็เป็นกล่องใส่ตัว Tena Testa ซึ่งอุปกรณ์ตัวช่วยวิเคราะห์สายอากาศ ซึ่งผมก็ซื้อมานานมากแล้วเป็นขุดคิต เอามาประกอบ เสร็จแล้วหลังจากนัั้นมันก็นอนอยู่ในถุง ไม่ค่อยได้เอาออกมาใช้งาน กลัวจะพัง เพราะโดยลำพังตัวมันเองมีแค่ชุดจอ LCD กับ แผ่น PCB แค่นั้น

Read more