แชร์ station setup ที่ใช้ติดต่อกับดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นครับ
Electronic
QCX 20 meters modify
เป็นข้อความที่ผมแชร์ไว้ใน group ของ QRP LAB นะครับ ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิทยุสมัครเล่นที่จะประกอบชุดคิตวิทยุ QCX แล้วพบปัญหาว่า power output ได้ไม่ถึง 5W
โดยด้านล่างนี้เป็นวิธี modify ที่ผมเคยทดลองไว้ครับ
Hi All,
I would like to share my experiment.
After a several month i have fixed output power for my QCX 20M (my kit No.#487)
and now i can getting with full power 5 Watts @12Vdc
before I solve my QCX 20M. I can get output only 1.5 ~ 2w maximum
First i observe LPF circuit C25 and C26 (390pf) getting very hot during transmission.
This is my modification.
- remove 1 turn of L1 and L3 (use only 15 turns) –> power improve abit to ~ 2.5w
- remove C25 and C26 (390pf) and i replace with 2 series of MLCC capacitor 680pf (because there are in my stock) –> this big improve my power to 5w !!!
I believe my issue is mismatch at LPF especially at C25 and C26 (390pf).
thanks group for good knowledge sharing and Hans for the grate kits.
73
Choke E29AHU
ตรวจสอบวงจร SEND ของวิทยุ IC-7300 ก่อนใช้กับ Transverter
สืบเนื่องจากบทความตอนที่แล้ว เรื่อง เพิ่มวงจร PTT ให้กับ transverter ของเรา แต่ที่วงจรที่เจ้าของร้านให้มาจะมีการช็อต ไฟ 12v ลง กราวด์เพื่อให้ PTT ของ transverter ทำงาน ใจก็กังวลว่าถ้าต่อตรงๆ เข้า IC-7300 กลัวจะพัง เลยมาตรวจสอบ spec ช่องต่อ send หลังเครื่อง IC7300 เรากันก่อนครับ
โดยช่องต่อ SEND หลังเครื่อง IC7300 นี้จะเป็นตัวควบคุมให้ PTT ทำงานครับ ซึ่งในคู่มือบอกว่าความต้านทานจะเป็น 0 เมื่อมีการ TX กดส่งออกอากาศ
หลังตรวจสอบแล้วพบว่า พอร์ตนี้ จะใช้ relay ควบคุมอีกทีหนึ่งครับ เพราะฉนั้น มันใจได้ว่า ไฟ 12v จาก transverter ที่จะ short ลงกราวด์ ผ่านเครื่อง ic7300 ของเราก็ปลอดภัยแน่นอน
Straight Key คันเคาะรหัสมอร์ส ผลผลิตจาก 3D Printer
หลังจากเริ่มคุ้นมือกับเจ้า 3D Printer แล้ว ต่อไปก็เริ่มทยอยสร้างชิ้นงาน Project ออกมากันครับ สำหรับชิ้นงานความฝันที่อยากได้ก็คือ สร้างคันเคาะรหัสมอร์สสวยๆ ออกมาใช้งาน เพราะปกติงานเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนใช้ในวงกว้างตามท้องตลาด และราคาก็ค่อนข้างสูง ผมก็เลยนึกสนุกๆ สร้างขึ้นมาสักอันครับ
สถานีตรวจอากาศ Weather Station
วันนี้เอา sensor ตรวจวัดสภาพอากาศมารีวิวสักตัวครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่ค่อยมีให้เลือกซื้อเท่าไหร่ และส่วนใหญ่จะมีขายกันแถบๆ อเมริกาและยุโรป แต่เดียวนี้มีรุ่นที่ผลิตขายที่จีน ชื่อรุ่น Misol ซึ่งราคาบอกค่าจัดส่งแล้วก็พอรับได้อยู่ในช่วงสองพันต้นๆ เลยจัดมาทดสอบสักตัวครับ
Solar Project 4 : วงจรวัดแรงดันไฟฟ้า
จากไอเดียเรื่องการสร้าง Solar Charger Controller ที่ผมได้เขียนไว้ในบทความตอนที่แล้ว วันนี้ก็มาเริ่มทดลองกันแล้วครับ concept ก็ง่ายๆ เพียงใช้ตัวต้านทานแบ่งแรงดันสักสองตัว เหตุผลที่ต้องใช้วงจรแบ่งแรงดัน เนื่องจากเราจะใช้ arduino analog port ในการอ่านค่าแรงดัน และ port นี้มันอ่านได้สูงสุดแค่ 5v ดังนั้น เราป้อนไฟ 12v เข้าไปจะทำให้ควันขึ้นแน่ๆครับ
วงจรและสูตรการคำนวณวงจรแบ่งแรงดัน
Solar Project 3 : ติดตั้งแผงแบบต่อขนาน
วันนี้ update การติดตั้งแผงโซลาเซลเรียบร้อยครับ ตอนนี้มีอยู่สองแผง คือ Mono 40w กับ Poly 120w แรกๆ ก็ยังกลัวว่ามันจะต่อร่วมกันไม่ได้เพราะเป็นแผงคนละชนิด แต่ลองไปค้นวิธีก็พอรู้ว่า ถ้า voltage เท่าก็ก็ไม่น่ามีปัญหา และถ้าจะให้ประสิทธิภาพการจ่ายกระแสที่ดีที่สุดก็ควรจะนำแผงมาต่อรวมกันแบบขนานครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระบบที่จะนำไปใช้งานด้วย
Solar charge controller
หลังจากได้แผงโซลาเซลมาแล้ว ต่อไปก็คือมาหา solar charge controller มาใช้งานต่อครับ เท่าที่ผมลองศึกษาดู solar charge controller หลักๆ จะทำหน้าที่อยู่ 3 อย่างดังต่อไปนี้ครับ
- Stop Charge Voltage ควบคุมไม่ให้มีการชาร์ตไฟเกินแบตเตอรี่ที่จะรับได้ เพราะเสี่ยงแบตเตอรี่ร้อนและระเบิดได้ ปกติจะไม่เกิน 14.4v สำหรับ lead acid battery ถ้าเกินแล้วก็ตัดเลย
- Low Voltage Protection ควบคุมการจ่ายไฟให้กับ Load โดยไม่ให้ดึงกระแสมากจนเกินไปจนไฟในแบตเตอรี่ลดลงจนเกินค่าที่กำหนดไว้ ปกติก็ประมาณ 10.5v ถ้าลงต่ำกว่านี้ก็หยุดการจ่ายไฟให้กับ load เลย
- Low Voltage Recovery ถ้ามีการชาร์ตไฟเข้าแบตเตอรี่จะได้แรงดันไฟระดับหนึ่งแล้ว ก็ทำการจ่ายไฟให้โหลดทำงานต่อได้ ประมาณ 12.2v