ขั้นตอนการขอ VUCC Satellite Award

ต่อจากบทความตอนที่แล้ว เมื่อเราสะสม Grid โดยติดต่อกับสถานีวิทยุอื่นๆ จนครบ 100 Grid แล้ว ก็สามารถไปแลกรางวัล VUCC Satellite Award ได้ ซึ่งเราก็คงไม่ได้ขอกันบ่อยๆ เลยทำเป็นบทความไว้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ครับ

และแน่นอนสิ่งที่เราขาดไม่ได้เลยก็คือ ต้องมี account LoTW ก่อนเพื่อสะสม Grid ให้ครบ 100 ครับ และก็บัตรเครดิต เพื่อจ่ายค่าบริการ VUCC Award ที่เราจะขอครับ ซึ่งราคาจะอธิบายต่อไป

หลังจาก Login เข้าไปก็เข้าไปที่เมนู Award

และที่ด้านซ้ายมือ ก็จะเห็นเมนู Select VUCC Account Award ที่เราเคยลงทะเบียนไว้

สังเกตที่วงด้านขวา เราจะสังเกตุเห็นว่าเราสะสม grid ได้ครบ 100 grid แล้ว หลังจากนั้น ให้เราคลิกที่ Application

ที่ตารางด้านล่าง จะสังเกตุเห็นตาราง VUCC เป็นสีเขียว เราก็ติ๊ก checkbox เพื่อ apply ด้านบนจะสังเกตเห็นคำอธิบายค่าบริการในการขอ Award สำหรับผู้ที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา ราคาก็อยู่ที่ประมาณ 33USD เป็นอย่างต่ำ เดี๋ยวขั้นตอนถัดๆไป ในเราคงเห็นราคาสรุปทั้งหมดกันอีกที จากนั้น click continue ต่อเลยครับ

หน้านี้ก็จะเป็นการ confirm ว่า grid และสถานีที่เราจะ apply VUCC Satellite มีอะไรบ้าง ด้านบนจะอธิบายถึง VUCC award record อันนี้หมายถึงถ้าเราใช้ paper QSL card ในการ confirm ข้อมูลจะอยู่ใน VUCC award record แต่ในกรณีของผมจะถูก confirm การ QSO ผ่าน LoTW แบบ Online ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา เรากด Next ไปขั้นตอนถัดไปได้เลยครับ

ขั้นตอนถัดไปใส่ข้อมูล ชื่อ ที่ต้องการให้อยู่บน Award และที่อยู่ เสร็จแล้วไปขั้นตอนถัดไปได้เลยครับ

ขั้นตอนนี้จะเป็นสรุปราคา ค่าบริการ รวมๆแล้วอยู่ที่ 48.15USD ประมาณ 1600 บาทไทย
และด้านล่างก็เป็นการใส่รายละเอียดข้อมูลบัตรเครดิตครับ

พร้อมแล้วกด Continue หน้าสุดท้ายจะมีสรุปให้ดูครับ อ้อ ส่วนเงินในบัตรเครดิตยังไม่ตัดจนกว่า Application จะ Accept ครับ

ผ่านไปประมาณ 1 คืน ก็มีข้อความเด้งเข้าโทรศัพท์ว่า เงืนถูกตัดออกจากบัตรเครดิตไปแล้ว 48USD แสดงว่า VUCC เรา Approve แล้ว ลอง login LoTW มาดูก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ ครับ

หลังจากนี้ก็รอ ใบ Certificate ส่งมาที่บ้าน น่าจะสักเดือนสองเดือนครับ : )

VUCC Award กับการสะสม Grid ผ่านดาวเทียม

หนึ่งใน Award สำหรับนักล่าดาวเทียมก็คือ VUCC Satellite (VUCC = VHF/UHF Century Club) เป็นการเล่นในลักษณะการสะสม Grid Locator ให้ครบ 100 Grid เนื่องจาก Foot Print ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมไม่ได้กว้างนักเหมือน HF ดังนั้นจำนวนประเทศในการติดต่อค่อนข้างยาก จึงใช้วิธีนับ Grid Locator แบบ 4 หลักแทน ซึ่ง 1 สถานี ถ้าเดินทางไปออกอากาศที่ Grid อื่นๆ แต่ยังอยู่ในขอบเขตการใช้งานวิทยุสมัครเล่นของประเทศนั้นๆ ก็สามารถแจกกริดให้คนอื่นได้ครับ

ตัวอย่าง Grid Locator ในประเทศไทย ข้อมูลจาก : https://dxcluster.ha8tks.hu/hamgeocoding/

การสะสม Grid Locator เพื่อแลก VUCC Award ต้องการ LoTW ซึ่งเป็นระบบยืนยันการติดต่อของนักวิทยุสมัครเล่นที่หลายๆท่านคุ้นเคยอยู่แล้ว

จากที่ผมลองเล่น และสะสม Grid มาประมาณ 3 ปี ก็ได้ครบ 100 Grid เมื่อวันที่ 25 กุมพาพันธ์ 2566 สามารถเอาไปแลก VUCC Award ได้ เป็นขั้นตอนต่อไปครับ

VUCC Award ครบ 100 Grid สะสมใน LotW

เล่าถึงวิธีการสะสม Grid Satellite ของผม ซึ่งเปอร์เซนต์ส่วนใหญ่จะได้จากสถานีที่อยู่ในแถบญี่ปุ่นและจีน ซึ่งแถวนั้นเขานิยมใช้ LoTW กันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางแถบประเทศไทยลงไปถึงอินโดนีเซีย มีนักวิทยุสมัครเล่นที่ติดต่อผ่านดาวเทียมกันอยู่ไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้ LoTW กันครับ

อีกวิธีหนึ่งก็คือการติดต่อกับสถานีที่เป็นเรือ ซึ่งโชคดีมากๆ ที่ช่วงปลายปีที่แล้วมีสถานี JA9KRO/MM และปีนี้มี ND9M/MM ที่ออกอากาศจากเรือ ซึ่งเรือสามารถล่องไปได้ในทะเลและออกอากาศไได้หลาย Grid ซึ่งทำให้เราสะสม Grid ได้เยอะจากสถานีเหล่านี้ได้

ความยากในการสะสม Grid Satellite ของนักวิทยุสมัครเล่นไทย ก็คือเรื่องของ Limitation ที่เราอนุญาติ ให้ใช้งานเฉพาะ VHF ในการ Uplink เท่านั้น ดังนั้น ดาวเทียมบางดวงที่เป็น UHF uplink เราไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันมีดาวเทียม ชื่อ GreenCube หรือ IO-117 เป็นดาวเทียมแบบที่ลอยอยู่ในตำแหน่ง MEO (Medium-Earth Orbit) ซึ่งมี Foot Print ที่กว้างมาก ครอบคลุมการติดต่อได้หลายประเทศ แต่นักวิทยุสมัครเล่นไทยไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากต้องการการ uplink UHF. ไม่เช่นนั้นคงได้เห็น HAM Thai อีกหลายท่านสามารถสะสม Grid เพื่อแลก VUCC Award, DXCC Award หรือ WAS Award ได้อีกหลายท่าน เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยทางด้านวิทยุสมัครเล่นครับ

การติดต่อในโหมด WSPR – Introduction

เรื่องของวิทยุสมัครเล่น มีอะไรให้เรียนรู้ไม่มีวันจบครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ WSPR กัน

สำหรับ WSPR ก็เป็นโหมดหนึ่งของย่าน HF (สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางขึ้นไป) ข้อน่าสนใจของโหมดนี้ก็คือเป็นโหมดที่ใช้ติดต่อด้วยกำลังส่งที่ต่ำ เช่น 500mW – 1W ก็ไปได้ครึ่งค่อนโลกแล้ว ซึ่งเท่าที่ผมเคยทดลองมากำลังส่งประมาณ 1.5W ก็ไปถึงอเมริกาได้ในบางคืน

Read more