วันอาทิตย์ที่ผานมานี้ VN-4002 QRP Radio จาก JL1VNQ เดินทางมาถึงแล้วครับ รอบนี้ไม่รอดภาษี เป็น CW Radio กำลังส่งต่ำ 4w ส่งในย่านวิทยุสมัครเล่นแบด์ 40m เหมาะสำหรับขา portable ครับ

Enjoy HAM life. Experiment and Sharing
วันอาทิตย์ที่ผานมานี้ VN-4002 QRP Radio จาก JL1VNQ เดินทางมาถึงแล้วครับ รอบนี้ไม่รอดภาษี เป็น CW Radio กำลังส่งต่ำ 4w ส่งในย่านวิทยุสมัครเล่นแบด์ 40m เหมาะสำหรับขา portable ครับ
หลังจากเริ่มคุ้นมือกับเจ้า 3D Printer แล้ว ต่อไปก็เริ่มทยอยสร้างชิ้นงาน Project ออกมากันครับ สำหรับชิ้นงานความฝันที่อยากได้ก็คือ สร้างคันเคาะรหัสมอร์สสวยๆ ออกมาใช้งาน เพราะปกติงานเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนใช้ในวงกว้างตามท้องตลาด และราคาก็ค่อนข้างสูง ผมก็เลยนึกสนุกๆ สร้างขึ้นมาสักอันครับ
ช่วงนี้ยังสนุกอยู่กับการเรียนรู้การใช้ งาน 3D Printer ครับ แหล่งความรู้อย่างดีเลยก็คือ Google กับ Youtube เพราะคู่มือก็ไม่ได้ให้มาละเอียดเท่าไหร่ (ให้มาแค่วิธีประกอบ) อย่างเช่นวิธีการใส่ filament หรือการเปลี่ยนเส้นพลาสติก ที่จะต้องมีการอุ่นให้หัวพิมพ์ร้อนๆ ก่อนเพื่อที่จะได้ถอดหรือดึงเส้นพลาสติกออกได้สะดวก ซึ่งพอรู้หลักการเบื้องต้นแล้ว ที่เหลือเราก็จะมองภาพออกครับว่าจะใช้งานควบคุมมันอย่างไร
โปรเจ็คที่ทดลองพิมพ์ด้วย 3D Printer ออกมาเมื่อวานก็เป็นกล่องใส่ตัว Tena Testa ซึ่งอุปกรณ์ตัวช่วยวิเคราะห์สายอากาศ ซึ่งผมก็ซื้อมานานมากแล้วเป็นขุดคิต เอามาประกอบ เสร็จแล้วหลังจากนัั้นมันก็นอนอยู่ในถุง ไม่ค่อยได้เอาออกมาใช้งาน กลัวจะพัง เพราะโดยลำพังตัวมันเองมีแค่ชุดจอ LCD กับ แผ่น PCB แค่นั้น
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วถอย 3D Printer มาหนึ่งตัวครับ จุดประสงค์คืออยากเอามาทำพวกกล่องใส่ชุดคิตต่างๆ และทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้กับสายอากาศ และอื่นๆ อีกมากมายตามความคิดไอเดียที่จะมี ไม่รอช้าไปค้นหา 3D Printer รุ่นต่างๆ ใน Lazada ตลอดจนดูรีวิวใน youtube จนมาจบในรุ่นนี้ครับ
เมื่อวานนี้ 26-กันยายน-2563 เป็นวันครบรอบวันเกิดลูกสาวครบ 3 ขวบ
ผมเขียนสรุปบทการเรียนรู้มาราธอนออกมาเป็นโมเดลประมาณนี้ครับ
มาราธอน เป็นเกม เหมือนกับการจำลองชีวิตขึ้นมาหนึ่งชีวิต ตั้งแต่เริ่มเกิด จนถึงตาย เป็นจุดสิ้นสุด ในระหว่างทางก็จะมีสิ่งต่างๆ เข้ามา ส่วนมากจะเป็นอารมณ์ความรู้สึก ที่เข้ามาคอยกระทบจิตใจเรา บางทีเราไปแวะข้องเกี่ยวอยู่กับอารมณ์เหล่านั้น ทำให้เป้าหมายใหญ่ที่เราจะไปถึงก็จะยิ่งช้าลง
และยิ่งเราไม่หยุดวิ่ง เราซอยเท้าไปเรื่อยๆ เมื่อเราหันกลับไปมองข้างหลัง ก็จะพบว่า มีความสำเร็จเล็กๆ ที่เราได้ผ่านมาหลายต่อหลายครั้ง ช่วยสร้างความพอใจและภูมิใจให้เราได้อย่างดีเลยทีเดียว
เปรียบเสมือนเหมือนกับเราวิ่งไป แล้วนาฬิกาจับระยะทางบอกครบจำนวนกิโลเมตรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจะรู้สึกภูมิใจว่าเราทำได้ และมีจุดให้น้ำ มีแตงโมและเกลือแร่เป็นรางวัลเป็นจุดเล็กๆ ระหว่างทางเมื่อเราวิ่งไปถึง
มาราธอนเป็นเรื่องของการวางแผน เปรียบเสมือนการเขียนเป็นโมเดลออกมาข้างต้น ก่อนจะวิ่งได้ ไม่ใช่ว่าเราตื่นมาแล้วซัด 42.195 กิโลเมตรเลย เราต้องศึกษาเทคนิค ทฤษฎี วิธีการ ต้องสำรวจทาง ซ้อมวิ่งระยะยาวเป็นเดือนๆ เพื่อจะได้แตะถึงความลำบากที่จะได้เจอ คือประมาณว่ายิ่งสัมผัสความลำบากได้เท่าไหร่ เราก็จะชินได้เท่านั้นเมื่อลงสนามในชีวิตจริง
วันนี้เราต้องเริ่มต้นกำหนดเป้าหมายใหญ่ของชีวิตนี้แล้วว่า แท้ที่จริงแล้วที่เราเกิดมาในครั้งนี้ เราต้องการที่จะทำอะไรเป็นเป้าหมายใหญ่ แล้วค่อยกำหนดเป้าหมายเล็กๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายใหญ่เหล่านั้น ภาพชีวิตของเราก็จะชัดเจนขึ้น
ขอบคุณครับ มาราธอนที่สอนให้เราคิดได้แบบนี้
ช่วงนี้ก็ไม่ทำอะไรมากครับ ฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแกร่งเหมือนเดิม กับดูแลเรื่องการกินกับการนอนให้ดี
วันนี้เพิ่งจะจบ first marathon ไปครับ เป็นสนามที่ไม่เหมาะกับ first marathon อย่างมาก 555+ เป็นงานของ Garmin Sub 5 จัดที่สวนผึ้ง ราชบุรี โดยที่งานนี้จะมีเสื้อพิเศษให้สำหรับคนที่วิ่งได้ต่ำกว่า 5 ชม. ส่วนคนที่วิ่งเกิน 5 ชม. ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 6 ชม. ก็จะได้แต่เสื้อ Finisher
ช่วงนี้จะกลับมาเปิดโหมด เขียนไดอารี่บันทึกประจำวันต่อน่ะครับ เพราะสังเกตุตัวเองมาเมื่อสองสามปีมานี้เหมือนจะไม่ค่อยได้บันทึกอะไรบ่อยเหมือนเมื่อก่อน ตั้งแต่มี Social Media แล้วชีวิตเปลี่ยนไป เพราะมีอะไรก็ไปโพสลง Social หมด จนรู้สึกว่าสะเปะสะปะ ไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน
คิดไปคิดมา ถ้าเราทำอะไร แล้วบันทึกเป็นเรื่องเป็นราวใน blog ของเราน่าจะดีกว่าครับ วันละเล็กละน้อย และเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นมาค้นเจอและเปิดอ่านบ้างในอนาคต
เริ่มต้นที่จะทำก็คงไม่พ้นเรื่องที่กำลังบ้าทำอยู่ตอนนี้นะครับ ก็มีอยู่สามเรื่องคือ
สุดท้ายแล้ว ตอนนี้มีอีกหนึ่งบล็อก ที่ทำขึ้นมาเพื่อที่จะบันทึกเป็น logbook การรับโทรมาตรสัญญาณจากดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นดวงต่างๆ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อภายหลัง หรือเป็นการสะสมไอเทม เหมือนเล่นเกมส์ของตัวเองว่าเป้าหมายในการรับดาวเทียมดวงใหม่ๆ ในแต่ละดวงเป็นจำนวนเท่าไหร่ ตอนนี้ link สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://chokelive.com/e29ahu/
*** บทความนี้จะมีการ update progress เรื่อยๆ ในการสร้างโปรเจ็คนะครับ
เนื่องจากดาวเทียม LEO วงโคจรต่ำที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น ส่วนใหญ่จะมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะสามารถติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมดวงต่างๆได้ จำเป็นจะต้องมีมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า rotor ที่สามารถปรับมุมหมุน (azimuth) และมุมยก (elevator) ได้ เพื่อให้สายอากาศของเราสามารถหันตรงทิศทางดาวเทียมได้ตลอดเวลาและอุปกรณ์ค่อนข้างมีราคาแพง ดังนั้นการทดลองสร้างใช้งานเองก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจครับ