GPRS & EDGE Technology for Nokia6233 ตอนที่ 1

หายไปหลายวันอีกแล้วครับ วันนี้ มีเรื่องเกี่ยวกับ GPRS กับ EDGE มาฝาก เพราะเพิ่งไปถอยมือถือมาใหม่หมาดๆ รุ่น NOKIA6233 ซึ่งแต่ก็แปลกดีที่จุดขายของโทรศัพท์เครื่องนี้เวลาที่ผมเดินผ่านไปถามราคาที่ร้านไหน คนขายก็จะชอบบอกว่า “มีกล้องขนาดตั้ง 2 MPixel เชียวนะ” ซึ่งมันอาจจะเป็นจุดขายของรุ่นนี้ก็ได้ แต่ผมกลับไม่ได้สนใจตรงนี้เลย ผมสนใจที่ว่ามัน support GPRS และ EDGE class 10 ต่างหากล่ะ

ว่าด้วยเรื่องของ GPRS กันก่อนครับ GPRS (General Package Radio Service) เป็นระบบที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่อข่ายมือถือที่มีความเร็วถึง 171.2 kbps เชียวนะ ซึ่งเจ้า GPRS มันจะทำงานอยู่ในรูปแบบของ Package-Switched ซึ่งจะแตกต่างจากระบบที่เราใช้เสียงโทรคุยกันธรรมดาที่เรียกว่า Circuit-Switched

เอา ล่ะ อันดับแรกมาทำความเข้าใจกับระบบ Circuit-Switched กันก่อน

ระบบ Circuit-Switched จะเป็นระบบที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารของสัญญาณเสียงแบบที่ใช้โทรศัพท์โทรคุยกันธรรมดานี่แหละครับ ซึ่งเจ้า Circuit-Switched นี่มันจะมีช่องสัญญาณของมันอยู่หลายช่อง อย่างถ้าเราโทรคุยกับเพื่อนเรานี่ มันก็จะต้องมีการจองช่องสัญญาณให้เราก่อน 1 ช่อง แล้วค่อยเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างโทรศัพท์เครื่องเรากับเพื่อนของเราให้โทรคุยกันได้ จนเมื่อเราวางสายเมื่อไหร่นั่นแหละครับ ช่องสัญญาณนั้นก็จะถูกยกเลิก แล้วปล่อยว่างไว้ให้คนอื่นได้ใช้ต่อไป

อย่างเช่นเราเคยเจอปัญหา แบบ ช่วงเวลาที่มีคนใช้โทรศัพท์เยอะๆ แล้วเรากดโทรออกไม่ได้นั่นแหละครับ แสดงว่าช่องสัญญาณมันเต็ม ต้องรอคนอื่นวางสายก่อน เราจึงเข้าไปเสียบช่องสัญญาณที่ว่างเพื่อโทรออกได้

ส่วนเจ้าระบบ Package-Switched นี่มันจะต่างกันกับระบบ Curcuit-Switched ก็คือ ระบบ Package-Switched จะสามารถใช้ช่องสัญญาณเดียวร่วมกับคนอื่นได้ ไม่ได้แบ่งเป็นช่องคู่สายใครคู่สายมันเหมือนอย่าง Circuit-Switched

สมุติว่าเราเอาระบบ Package-Switched นี้มาส่งข้อมูลเสียงพูดคุยให้เหมือนกันกับระบบโทรศัพท์ธรรมดา ข้อมูลเสียงของเราก็จะถูกหั่นออกก่อน เป็นข้อมูลย่อยๆ หลายๆข้อมูล เรียกว่า package ในแต่ละ package มันจะมีหมายเลขประจำตัวมันอยู่ เสร็จแล้วเราก็ปล่อย Package ส่งเข้าไปที่ช่องสัญญาณรวม ซึ่งในช่องสัญญาณ 1 ช่องก็อาจจะมี Package เสียงของคู่สาย อื่นๆ วิ่งรวมอยู่ในนี้ได้ หลังจากนั้น เมื่อถึงปลายทาง package แต่ละตัวกมันจะรู้เองว่าจุดหมายอยู่ที่ไหน แล้วจะต้องเอาตัวเองไปรวมกลุ่มกับใคร เพื่อประกอบกันเป็นข้อมูลเสียงเดิม เพื่อให้ปลายทางฟังรู้เรื่อง

นี่แหละครับเหตุผลที่ว่า ทำไมระบบโทรศัพท์แบบ Voice Over-IP หรือโทรศัพท์ผ่าน Internet มันถึงมีราคาถูกกว่าค่าโทรศัพท์แบบธรรมดา นั่นก็เป็็้นเพราะว่า มันใช้ช่องสัญญาณข้อมูลประหยัดกว่าระบบโทรศัพท์ธรรมดานั่นเอง

พบกันใหม่ตอนหน้านะครับ

7 thoughts on “GPRS & EDGE Technology for Nokia6233 ตอนที่ 1”

  1. แล้วที่สายพันกัน เสียงแทรก เสียงซ้อน มันเกี่ยวเนื่องกับระบบทั้งสองข้างบนหรือเปล่าครับ
    แล้วระหว่าง Curcuit-Switched กับ ระบบPackage-Switched อันไหนมีปัญหามากกว่ากันครับ

    Reply
  2. เอาเข้าจริงผมคิดว่า Package-Switched น่าจะีปัญหามากกว่าน่ะครับ เพราะพูดกันถึงเรื่องของการแบ่งข้อมูลออกเป็นย่อยๆ แล้วส่งผ่านเครือข่าย โอกาสสูญหายของข้อมูลก็มีสูง ซึ่งเทคโนโลยี ที่จะมารองรับในส่วนตรงนี้ได้ จะต้องมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงพอสมควรนะครับ ไม่งั้น คุยๆ ไป เสียงอาจขาดๆ หายๆ ได้

    ส่วนเรื่องสายพันกันนี่ ระบบ Curcuit-Switched น่าจะมีส่วนแน่นอนครับ เพราะอาจเกิดการ ตัดต่อช่องสัญญาณที่ผิดพลาด ได้

    Reply
  3. แล้วตอนนี้มีโทรฯรุ่นไหนรองรับการใช้งาน Edge บ้างครับที่ผมใช้อยู่เป็น MOTO C390 /GPRS Class 10 รองรับการใช้งาน Edge ด้วยหรือเปล่าครับ

    Reply
  4. เท่าที่ตรวจสอบ spec ดูรุ่น C390 ไม่มี EDGE นะครับ สำหรับรุ่นที่ใช้ EDGE ได้ก็มีอยู่หลายรุ่นครับ รุ่นที่ถูกที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอก็คือตอนนี้ก็คือ Nokia 3110

    Reply
  5. ใช้มือถือต่อเน็ตอยู่ 2 รุ่น n72/nokia6111 ถือว่าใช่ได้มั้ย แต่เราว่ามันช้าไปหน่อย ไม่รู่ว่าเกี่ยวกับโทรศัพท์รึเปล่า ใช้ระบบดีแทคทั้งสองเครื่องเลยค่ะ ถ้ารู้ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ

    Reply
  6. รุ่น N72 ใช้ EDGE ได้นะครับ แต่ต้องในสถานที่ที่สนับสนุนสัญญาณ EDGE ด้วยนะครับ ในเขตกรุงเทพและปริมณทลใช้ได้ชัวร์ แต่ต่างจังหวัดบางที่สัญญาณ EDGE อาจจะยังไม่ครอบคลุมนะครับ ซึ่งเป็นผลทำให้ช้า และยิ่งเล่นช่วงหัวค่ำนี่ช้าแน่นอนครับ เพราะคนแย่งใช้กันเยอะ bandwidth อาจเต็มครับ

    Reply
  7. สรุปก้อคือไม่เกี่ยวกับโทรศัพท์ใช่ป่ะ กำลังจะตัดสินใจซื้อของฮัท แต่แพงไปหน่อยเกือบหมื่นสาม แต่เค้าว่าเร็วดีจริงป่ะ ขอบคุณมาก ๆ ที่อุตส่าตอบค่ะ

    Reply

Leave a Comment