SSTV from Space-π project from

ดาวเทียมในโครงารการ Space-π project ของรัสเซียมีกำหนดส่ง SSTV ลงมาหลายดวงในช่วงระหว่างวันที่ 11-13 Apr 2024 และต่อไปนี้เป็นภาพที่รับได้จากสถานีวิทยุสมัครเล่น E29AHU NK93 ครับ

UMKA-1 (RS40S)


UTMN 2 (RS27S)


NANOZOND 1 (RS49S)

FT4 via RS-44 Satellite

ทดลองโดยใช้ WSJT-X สองตัว แต่ config คำสั่ง wsjtx.exe –rig-name=RS44RX แยกใน shortcut อีกที จะทำให้สามารถเปิด WSJT-X ได้พร้อมกันสองตัวครับ

Park on the Air HS-0370 สวนสาธารณะทุ่งหันตรา อยุธยา

เป็นตอนแรกสำหรับซีรีย์การรีวิว Park ที่ผมไปเที่ยว และเล่น POTA หรือ Park on the Air นะครับ

สวนสาธารณะทุ่งหันตรา อยู่จังหวัดอยุธยา มีหมายเลข park ของ POTA คือ HS-0370 เป็น park ขนาดใหญ่โดยคนส่วนมากจะเข้าไปวิ่งออกกำลังกายกันช่วงเย็นๆ ประมาณ 20 – 30 คน บรรยากาศดี เงียบสงบ และถ้าขับรถไปจอดหลัง Park จะมีลานขนาดใหญ่ เทพื้นปูนอยู่ด้านหลัง ตรงนี้สามารถปั่นจักรยาน เล่นเสก็ตบอร์ด หรือเดินวิ่งได้ แต่ห้ามซ้อมขับรถ เพราะจะมี รปภ. มาเตือน 555+

สำหรับ POTA หลังจากที่เราขับรถเข้าไปแล้ว ปกติผมจะชอบไปจอดที่ด้านหลังเพราะลานกว้างขนาดใหญ่ สัญญาณน่าจะไปได้ดี คิดว่างั้น แต่บางวันก็ไม่ดีขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ปกติผมจะไปถึง park ประมาณช่วง 6 โมงเย็น เพราะเป็นเวลาเลิกงาน ไปถึงก็จะยังพอมีคนอยู่ใน park อยู่ไม่เงียบเหงา (สังเกตได้จากรถที่เข้าไปจอด)

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาติดตั้งสายอากาศกันเลยครับ โดยปกติเวลาไป POTA ผมจะใช้ callsign E29AHU/m เป็นสถานีรถยนต์

ใส่สายอากาศเสร็จแล้ว ในภาพเป็นสายอากาศย่าน 20meter band ยี่ห้อ Diamond FX20FX เป็น single band ซึ่งผมชอบเพราะว่าเวลาติดตั้งแล้วมันเนียนดี ไม่เป็นเป้าสายตาให้คนที่ผ่านไปมามองด้วยความสงสัยครับ

สายอากาศประเภทนี้จะต้องมีการติดตั้งกราวด์ที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น SWR จะไม่ลง และเวลาเล่น FT8 จะทำให้ USB เด้งหลุดได้ครับ

ส่วนภาพต่อมาก็เป็นอุปกรณ์ภายในรถผมครับ หลักๆ ก็จะมีตั้งแต่แปล่งจ่ายไฟ เป็น แบตเตอรี่ 46160 Lifepo4 ขนาด 22Ah (เดียววันหลังมาเล่าให้ฟังอีกที) IC705 ส่งออก 5W และเข้า Power Amp จีน ออกประมาณ 40-50W และ Computer Labtop ขนาดเล็กอีก 1 ตัวครับ โดยโหมดหลักที่เล่นจะเป็น Digital FT8, FT4 จะมี CW อยู่บ้างแล้วแต่จังหวะเวลาและโอกาสที่เอื้ออำนวย และถ้ามีรีเควสก็จะจัดให้ครับ 🙂

สำหรับวันนี้อากาศค่อนข้างดี ผมเริ่มออกอากาศตั้งแต่ประมาณ 18:15 และจบที่ประมาณ 18:45 ได้ไปทั้งหมด 15 QSO โหมด FT8 และ FT4 ประเทศที่ติดต่อได้มากสุดจะเป็นญี่ปุ่น และติดต่อประเทศไกลสุดคือสถานีที่สหรัฐอเมริกา ได้ 1 สถานีครับ

จบการรีวิว POTA HS-0370 แต่เพียงเท่านี้ครับ เอาไว้รีวิว Park อื่นต่ออีกในครั้งหน้าสวัสดีครับ 73

POTA – Parks on the Air

POTA หรือ Parks on the Air เป็นโครงการที่เกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นโครงการหนึ่งเริ่มที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นได้มีกิจกรรมออกไปตั้งสถานี portable และออกอากาศบริเวณสวนสาธารณะทั่วไป

ลักษณะของการเล่น POTA จะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่ม Activator กับ Hunter

กลุ่ม Activator ก็คือนักวิทยุสมัครเล่นที่ต้องออกไปตั้งสถานีออกอากาศบริเวณ Park สวนสาธารณะ หรืออุทยานแห่งชาติที่เปิดสาธารณะให้เราเข้าไปได้ โดยต้องมีหมายเลข Park กำกับ ซึ่งหมายเลข Park ดูได้ที่ https://pota.app/#/map เราเข้าไปจะเห็นจุดเหลืองๆ ลองเอา mouse ไปคลิก ก็จะเห็นหมายเลข Park ตามตัวอย่างด้านล่างครับ

เมื่อ Activator เข้าไปที่ park ตามจุดเหลืองๆ แล้ว ก็ทำการตั้งสถานี และออกอากาศผ่านทางวิทยุสมัครเล่น และต้องสะสม QSO ครบอย่างน้อย 10 สถานี จึงจะถือว่าการ Activate ครั้งนั้นเสร็จสมบูรณ์ โดยคนที่ติดต่อเข้ามาจะเป็นสถานีใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องสมาชิก POTA ทั้ง 10 สถานี

Activator เมื่อเข้าไปถึง park สามารถ add activation ล่วงหน้า หรือ spot ตัวเองได้ผ่านทาง https://pota.app/#/ เพื่อให้สถานีอื่นๆ ทราบว่าเรากำลังออกอากาศที่ park ไหน โหมดไหน ความถี่ไหน ได้โดยไม่ผิดกฏิกาใดๆครับ

หลังจากที่ Activator ทำการ Activate Park เรียบร้อยแล้ว ต้องทำการ Upload Log เข้าสู่ระบบ ผ่านทาง https://pota.app/#/user/logs

คราวนี้มาถึงฝั่งของ Hunter บ้างครับ

Hunter จะทำหน้าที่ตามล่า สถานีที่ไปออกอากาศตาม park ต่างๆ โดยดู Spot การออกอากาศของสถานี Activator ได้ที่ https://pota.app/#/ เราก็จะเห็นว่ามีสถานีใด ออกอากาศที่ความถี่ใดโหมดใดบ้าง แล้วเราก็พายามติดต่อเข้าไปให้ได้ครับ

หลังจากที่ Hunter ติดต่อสถานีที่ Park ได้แล้ว เป็นการ QSO ที่จบสมบูรณ์ และไม่ต้อง upload log เข้าสู่ระบบของ POTA ครับ

ส่วน log ที่เราติดต่อ QSO กันได้กับสถานี POTA เราก็เก็บไว้เพื่อไป confirm ทางอื่นๆเช่น LoTW, QRZ.com ก็ได้เช่นกันไม่ผิดฏิกาครับ

หลักการคร่าวๆ ของ Parks On The Air ก็ประมาณนี้ สำหรับกฎระเบียบเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จาก https://docs.pota.app/

รอบหน้าเดียวจะมาเล่าเรื่องการการเข้าไปเล่น POTA ตาม park แต่ละ park ครับ 73

ขั้นตอนการขอ VUCC Satellite Award

ต่อจากบทความตอนที่แล้ว เมื่อเราสะสม Grid โดยติดต่อกับสถานีวิทยุอื่นๆ จนครบ 100 Grid แล้ว ก็สามารถไปแลกรางวัล VUCC Satellite Award ได้ ซึ่งเราก็คงไม่ได้ขอกันบ่อยๆ เลยทำเป็นบทความไว้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ครับ

และแน่นอนสิ่งที่เราขาดไม่ได้เลยก็คือ ต้องมี account LoTW ก่อนเพื่อสะสม Grid ให้ครบ 100 ครับ และก็บัตรเครดิต เพื่อจ่ายค่าบริการ VUCC Award ที่เราจะขอครับ ซึ่งราคาจะอธิบายต่อไป

หลังจาก Login เข้าไปก็เข้าไปที่เมนู Award

และที่ด้านซ้ายมือ ก็จะเห็นเมนู Select VUCC Account Award ที่เราเคยลงทะเบียนไว้

สังเกตที่วงด้านขวา เราจะสังเกตุเห็นว่าเราสะสม grid ได้ครบ 100 grid แล้ว หลังจากนั้น ให้เราคลิกที่ Application

ที่ตารางด้านล่าง จะสังเกตุเห็นตาราง VUCC เป็นสีเขียว เราก็ติ๊ก checkbox เพื่อ apply ด้านบนจะสังเกตเห็นคำอธิบายค่าบริการในการขอ Award สำหรับผู้ที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา ราคาก็อยู่ที่ประมาณ 33USD เป็นอย่างต่ำ เดี๋ยวขั้นตอนถัดๆไป ในเราคงเห็นราคาสรุปทั้งหมดกันอีกที จากนั้น click continue ต่อเลยครับ

หน้านี้ก็จะเป็นการ confirm ว่า grid และสถานีที่เราจะ apply VUCC Satellite มีอะไรบ้าง ด้านบนจะอธิบายถึง VUCC award record อันนี้หมายถึงถ้าเราใช้ paper QSL card ในการ confirm ข้อมูลจะอยู่ใน VUCC award record แต่ในกรณีของผมจะถูก confirm การ QSO ผ่าน LoTW แบบ Online ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา เรากด Next ไปขั้นตอนถัดไปได้เลยครับ

ขั้นตอนถัดไปใส่ข้อมูล ชื่อ ที่ต้องการให้อยู่บน Award และที่อยู่ เสร็จแล้วไปขั้นตอนถัดไปได้เลยครับ

ขั้นตอนนี้จะเป็นสรุปราคา ค่าบริการ รวมๆแล้วอยู่ที่ 48.15USD ประมาณ 1600 บาทไทย
และด้านล่างก็เป็นการใส่รายละเอียดข้อมูลบัตรเครดิตครับ

พร้อมแล้วกด Continue หน้าสุดท้ายจะมีสรุปให้ดูครับ อ้อ ส่วนเงินในบัตรเครดิตยังไม่ตัดจนกว่า Application จะ Accept ครับ

ผ่านไปประมาณ 1 คืน ก็มีข้อความเด้งเข้าโทรศัพท์ว่า เงืนถูกตัดออกจากบัตรเครดิตไปแล้ว 48USD แสดงว่า VUCC เรา Approve แล้ว ลอง login LoTW มาดูก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ ครับ

หลังจากนี้ก็รอ ใบ Certificate ส่งมาที่บ้าน น่าจะสักเดือนสองเดือนครับ : )

VUCC Award กับการสะสม Grid ผ่านดาวเทียม

หนึ่งใน Award สำหรับนักล่าดาวเทียมก็คือ VUCC Satellite (VUCC = VHF/UHF Century Club) เป็นการเล่นในลักษณะการสะสม Grid Locator ให้ครบ 100 Grid เนื่องจาก Foot Print ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมไม่ได้กว้างนักเหมือน HF ดังนั้นจำนวนประเทศในการติดต่อค่อนข้างยาก จึงใช้วิธีนับ Grid Locator แบบ 4 หลักแทน ซึ่ง 1 สถานี ถ้าเดินทางไปออกอากาศที่ Grid อื่นๆ แต่ยังอยู่ในขอบเขตการใช้งานวิทยุสมัครเล่นของประเทศนั้นๆ ก็สามารถแจกกริดให้คนอื่นได้ครับ

ตัวอย่าง Grid Locator ในประเทศไทย ข้อมูลจาก : https://dxcluster.ha8tks.hu/hamgeocoding/

การสะสม Grid Locator เพื่อแลก VUCC Award ต้องการ LoTW ซึ่งเป็นระบบยืนยันการติดต่อของนักวิทยุสมัครเล่นที่หลายๆท่านคุ้นเคยอยู่แล้ว

จากที่ผมลองเล่น และสะสม Grid มาประมาณ 3 ปี ก็ได้ครบ 100 Grid เมื่อวันที่ 25 กุมพาพันธ์ 2566 สามารถเอาไปแลก VUCC Award ได้ เป็นขั้นตอนต่อไปครับ

VUCC Award ครบ 100 Grid สะสมใน LotW

เล่าถึงวิธีการสะสม Grid Satellite ของผม ซึ่งเปอร์เซนต์ส่วนใหญ่จะได้จากสถานีที่อยู่ในแถบญี่ปุ่นและจีน ซึ่งแถวนั้นเขานิยมใช้ LoTW กันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางแถบประเทศไทยลงไปถึงอินโดนีเซีย มีนักวิทยุสมัครเล่นที่ติดต่อผ่านดาวเทียมกันอยู่ไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้ LoTW กันครับ

อีกวิธีหนึ่งก็คือการติดต่อกับสถานีที่เป็นเรือ ซึ่งโชคดีมากๆ ที่ช่วงปลายปีที่แล้วมีสถานี JA9KRO/MM และปีนี้มี ND9M/MM ที่ออกอากาศจากเรือ ซึ่งเรือสามารถล่องไปได้ในทะเลและออกอากาศไได้หลาย Grid ซึ่งทำให้เราสะสม Grid ได้เยอะจากสถานีเหล่านี้ได้

ความยากในการสะสม Grid Satellite ของนักวิทยุสมัครเล่นไทย ก็คือเรื่องของ Limitation ที่เราอนุญาติ ให้ใช้งานเฉพาะ VHF ในการ Uplink เท่านั้น ดังนั้น ดาวเทียมบางดวงที่เป็น UHF uplink เราไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันมีดาวเทียม ชื่อ GreenCube หรือ IO-117 เป็นดาวเทียมแบบที่ลอยอยู่ในตำแหน่ง MEO (Medium-Earth Orbit) ซึ่งมี Foot Print ที่กว้างมาก ครอบคลุมการติดต่อได้หลายประเทศ แต่นักวิทยุสมัครเล่นไทยไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากต้องการการ uplink UHF. ไม่เช่นนั้นคงได้เห็น HAM Thai อีกหลายท่านสามารถสะสม Grid เพื่อแลก VUCC Award, DXCC Award หรือ WAS Award ได้อีกหลายท่าน เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยทางด้านวิทยุสมัครเล่นครับ

EME Earth-Moon-Earth SWL

จาก twitter ของ M0SKN เรื่องการ Setup สถานี EME แบบ QRPp โดยใช้อุปกรณ์ที่ใช้กับดาวเทียม Greencube ก็สามารถใช้ติดต่อกับสถานี EME ใหญ่ๆ ได้ และวันนี้ก็มีการนัดทดสอบ ส่วนเรา HAM ไทย ส่งไม่ได้ ก็อยากลองรับเป็น SWL ดูบ้าง เริ่มจาก setup โปรแกรม WSJT-X ตาม ข้อความนี้ https://twitter.com/M0SKN_SA5IKN/status/1620467867287449601?t=x4pCowc59XZWEKR1gD958A&s=19

แล้วก็รอเขานัดกัน หันสายอากาศเข้าหาดวงจันทร์ ก็สามารถ decode ข้อมูลจากสถานี DL7APV ได้ตามนี้ครับ

CAS-5A Satellite

ดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นจีน CAMSAT (Chinese Amateur Radio Satellite) ขนาด 6U ถูกส่งขึ้นไปด้วยดาวเทียม Jielong-3 และถูกปล่อยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา พร้อมด้วย Transponder ของดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นที่เปิดใช้งาน เป็น mode V/U H/U ซึ่งประเทศไทยสามารถใช้งานความถี่ uplink ได้

ดูแล้วน่าสนใจมากครับ ที่ดาวเทียมดวงเดียวสมารถใช้งานได้หลาย mode ครอบคลุมทั้ง FM กับ Linear.

CAS-5A Down / Up
HF/HF – H/T Mode linear transponder 29.490 MHz / 21.385-21.415 MHz
HF/UHF – H/U Mode linear transponder 435.505 MHz / 21.385-21.415 MHz
HF – CW telemetry beacon 29.465 MHz
VHF/UHF – V/U Mode linear transponder 435.540 MHz / 145.820 MHz
VHF/UHF – V/U Mode FM transponder 435.600 MHz / 145.925 MHz
UHF – CW telemetry beacon 435.570 MHz
UHF – AX.25 4.8k/9.6k GMSK telemetry 435.650 MHz

ข้อมูลจาก :
https://www.ne.jp/asahi/hamradio/je9pel/cas5ab_6.htm
Krebs, Gunter D. “CAS 5A (Fengtai Shaonian 2)”. Gunter’s Space Page. Retrieved December 10, 2022, from https://space.skyrocket.de/doc_sdat/cas-5a.htm

การเพิ่มหมายเลข call area ให้กับ callsign ใน LoTW

วิธีการเพิ่มหมายเลข call area หรือหมายเลขเขตหลัง call sign ของเราใน LoTW กรณีออกไปตั้งสถานีนอกสถานที่ครับ
หมายเลข Call Area หรือหมายเลขเขตขอววิทยุสมัครเล่นไทยดูได้จาก https://www.qsl.net/rast/pictures/Call-areas.html

ขั้นตอนการสร้าง Certificate Key

ขั้นตอนแรกเปิด TQSO ขึ้นมา คลิกที่ callsign Certificate หน้านี้จะแสดงให้เห็นว่าเรามี call area ไหนที่ใช้งานอยู่บ้าง

ต่อไปให้เลือกที่ Callsign Certificate เมนูด้านบน แล้ว Request New Callsign Certificate

หลังจากนั้นให้กรอกรายละเอียด callsign พร้อมหมายเลขเขตเราลงไปครับ

กด next ไปเรื่อยๆ จนถึงหน้านี้ ให้เลือกที่เมนู “Yes, save this callsign into Exiting LoTW Account

หลังจากนั้นกด Finish และรอสักวันสองวัน ทาง LoTW จะส่ง email พร้อม key มาให้เราครับ

หลังจากได้ key มาแล้ว วิธีโหลด ก็ให้ไปที่หน้า Callsign Certificate กด Load a Callsign Certificate หลังนั้น ก็จบขั้นตอนการสร้าง key ครับ


ขั้นตอนการสร้าง Station Location

ขั้นตอนต่อไปคือ สร้าง Station Location ใหม่ ให้ไปที่หน้า Station Locations และกดที่ Create a new Station Location

เสร็จแล้วก็กำหนดชื่อสถานีพร้อม Call Area และหมายเลข Grid

สุดท้าย ใส่ชื่อ Station Name เข้าไปก็เป็นอันจบขั้นตอนครับ

Pocke Keyer 2

เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมีได้รับ Pocke Keyer2 จาก Japan ซึ่งเป็น ชุดคิต memory keyer ใช่ต่อกับคันเคาะรหัสมอร์สแบบ paddle โดยจะใช้ Firmware ของ K3NG Keyer ที่นิยมเอาไปสร้าง keyer กันหลายรุ่น

ชุดคิตชุดนี้สร้างขึ้นจากกลุ่ม AKC (amateur Kit Creator) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างเกี่ยวกับของเล่นทางวิทยุสมัครเล่น ของประเทศญี่ปุ่น ลองๆไปติดตามใน twitter ครับมีกันหลายคนส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักวิทยุสมัครเล่นของญี่ปุ่นนี้แหละ แต่ว่าจะมีชื่อจะลงท้ายว่า AKC

สำหรับตัว Pocke Keyer2 นี้ ได้มามาจาก JA6IRK ซึ่งเป็นผู้สร้าง kit ชิ้นนี้ ราคารวมส่งมาประเทศไทยก็อยู่ที่ 3500 JPY หรือราวๆ 1000 บาท ก็ราคาไม่แพง จัดการสั่งโดยคุยกับแกผ่าน twitter และจ่ายเงินทาง Paypal ครับ

หลังจากนั้นก็รอราวๆ 2 อาทิตย์ Pocke Keyer2 kit ก็เดินทางมาถึงบ้านด้วย Japan Post

ลองเปิดดูในกล่องก็มีอุปกรณ์ประมาณนี้ครับ

ส่วนการประกอบใช้งานก็ไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าคู่มือที่ให้มาเป็นภาษาญี่ปุ่น อ่านไม่ออกแต่ก็อาศัยดูจากภาพและวงจร ถ้าคนที่ยังไม่เคยประกอบมาก่อนอาจจะยุ่งยากนิดนึง แต่ก็ไม่ถือว่ายากมากครับ

หลังจากเสร็จแล้วหน้าตาก็ออกมาประมาณนี้ครับ

ถ้าเอามาวางคู่กับ Ashi Paddle version 1 ที่ผมเคยซื้อจากกลุ่ม AKC มาเมื่อสามปีที่แล้วก็จะดูน่ารักไปอีกแบบประมาณนี้ครับ

ขอจบรีวิวด้วย Video การใช้งานครับ