Loykratong Day History

ไหนๆ วันลอยกระทงผ่านมาทั้งที ทั้งปีก็มีอยู่แค่หนเดียวครับ มีแต่คำถามเก่าๆ ที่ชอบถามว่า “วันนี้ไปลอยกระทงที่ไหนเหรอ” “วันนี้ไปลอยกระทงกับใครเหรอ” แต่ผมสงสัยครับว่า “วันลอยกระทงคืออะไรเหรอ” เลยเป็นที่มาที่ทำให้ผมต้องหาคำตอบเรื่อง “ตำนานวันลอยกระทง” มาอธิบายในบทความตอนนี้

สำหรับผมปีนี้ ดีใจที่ได้มีโอกาสได้กลับไปลอยกระทงที่บ้านครับ เป็นงานเล็กๆ ไม่ยิ่งใหญ่เหมือนแถวสะพานพระราม 8 แต่ก็อบอุ่นดี และคงความเป็นประเพณีไทยๆ ไว้ได้ครับ


ประเพณีลอยกระทง การลอยประทีป หรือการลอยโคม มีปรากฏหลักฐาน ในวรรณคดีเรื่องนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัว แทนการลอยโคม เพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้น ทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบัน เรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา นางนพมาศได้ทำกระทงลอย ที่แปลก จากนางสนมอื่นๆ เมื่อพระร่วงเจ้า ได้เสด็จทางชลมารค ทอดพระเนตรเห็นกระทง ของนางนพมาศ ก็ทรงพอพระทัย จึงมีราชโองการ ให้จัดพิธี ลอยกระทง ขึ้นทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน สิบสองของทุกปี พระราชพิธีนี้จึงถือปฏิบัติ มากระทั่งถึงปัจจุบัน ประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายในพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ความตอนหนึ่งว่า”การฉลองพระประทีปลอยกระทงนี้ เป็นนักขัตฤกษ์ ที่รื่นเริงทั่วไปของชนทั้งปวงทัวกัน ไม่เฉพาะแต่ การหลวง จะนับว่าเป็นพระราชพิธีอย่างใดก็ไม่ได้ ด้วยไม่ได้มีพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ อันใดเกี่ยวข้อง เนื่องในการลอย พระประทีปนั้น ..แต่ควรนับว่าเป็นราชประเพณี ซึ่งมีมาในแผ่นดินสยามแต่โบราณ ตั้งแต่พระนครยังอยู่ฝ่ายเหนือ”

ซึ่งความมุ่งหมายในการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายดังนี้

  1. เพื่อขอขมาลาโทษแด่พระแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกินและใช้ และมนุษย์มักจะทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ จึงควรขอขมาลาโทษท่าน
  2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาท ประดิษฐานไว้บนหาดทราย แห่งนั้น
  3. เพื่อบูชาพระอุปคุต ซึ่งชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพอย่างสูง โดยตำนานเล่าว่า อุปคุตนั้น เป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิฤทธิ์ สามารถปราบมารได้ ท่านจะนั่งสมาธิอยู่บนบัลลังก์แก้ว ในท้องมหาสมุทร
  4. เพื่อลอยทุกข์ โศก โรค ภัย และความอัปรีย์จัญไร เหมือนกับการลอบบาป ของศาสนาพราหมณ์ ถ้าใครเก็บกระทงไป เท่ากับเก็บความทุกข์ หรือเคราะห์กรรมเหล่านั้น แทนเจ้าของกระทง

ที่มาจาก : ห้องสมุดโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

2 thoughts on “Loykratong Day History”

Leave a Reply to gf Cancel reply